Share

AI กับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

Last updated: 15 Aug 2024
359 Views
AI กับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

AI กับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงกันอย่างมากในขณะนี้ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

เมื่อเร็วๆ นี้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงในตำแหน่ง CISO, CIO, CTO และ CSO จากทั่วโลกเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง AI พบว่า 89% มอง AI ในเชิงบวก เพราะได้เล็งเห็นถึงโอกาสและความสามารถในการจัดการของ AI ที่จะสามารถช่วยพนักงานในองค์กรในการปฏิบัติงาน โดยกว่า 50% ได้มีการพัฒนาแนวทางสำหรับการใช้ AI ของพนักงาน และอีก 32% มีการวางแผนที่จะพัฒนาแนวทางดังกล่าวในปีหน้า

ภายใต้การส่งเสริมการใช้ AI ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งาน พบว่า เกือบ 75% มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล 

เพราะ Generative AI จะทำให้การตรวจพบการโจมตีแบบฟิชชิ่งน้อยลง และเพิ่มความเสี่ยงหากพนักงานไม่ได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสมเพื่อใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย

หากมองในแง่ของความเข้าใจวิธีการทำงาน AI นั้น มีเพียง 14% เท่านั้นที่ระบุว่า มีความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์หรือมีประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนา AI และส่วนใหญ่ 43% มีความเข้าใจเพียงระดับปานกลาง 

อีกทั้งยังมีความสงสัยบางอย่างเกี่ยวกับความสามารถขององค์กรในการป้องกันการโจมตีที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพราะไม่ใช่คนในองค์กรทุกคนที่จะมีความรู้ความสามารถในด้านนี้ จากการสำรวจ 1 ใน 5 ของผู้บริหารเปิดเผยว่า บุคคลากรแทบจะไม่มีความรู้ในการรับมือกับการโจมตีที่ขับเคลื่อนด้วยสิ่งนี้

นอกจากนี้ผลสำรวจแสดงสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญสูงสุดเป็นลำดับแรกนั่นคือ ความต้องการปรับปรุงระบบความปลอดภัยและการตรวจจับภัยคุกคาม ในการช่วยระบุความเสี่ยง การลดความเสี่ยง และการจัดการเพื่อให้แน่ใจว่า AI ที่นำมาใช้อยู่ภายในขอบเขตของความเสี่ยงที่ยอมรับได้ 

ด้วยเหตุนี้เอง 79% มองว่าโซลูชัน IAM (Identity and Access Management) มีความสำคัญในการควบคุมทางเทคนิคเพื่อกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงระบบและข้อมูลที่สำคัญของแต่ละบุคคลให้มีความเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ในการป้องกันการโจมตีและควบคุมการใช้ AI ในทางที่ผิด

คำแนะนำ 3 ข้อเพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยของข้อมูลเกี่ยวกับ AI

  1. เพิ่มความปลอดภัยให้กับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร การมี IAM ที่ทันสมัยและการปรับใช้นโยบายที่เหมาะสม เช่น การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (MFA) และการบังคับใช้สิทธิพิเศษให้น้อยที่สุด
  2. องค์กรต่างๆ ควรติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและหน่วยงานกำกับดูแลในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนา แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
  3. การให้ความรู้และฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพราะการฝึกให้มีความคุ้นเคยกับ AI และข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานก่อนการใช้งานจริง

เราจะเห็นได้ว่า ยิ่ง AI มีความสมจริงมากขึ้นเท่าใด แฮกเกอร์ก็จะปรับตัวและมีนวัตกรรมใหม่ได้เร็วขึ้นเท่านั้น หากองค์กรไม่ให้ความรู้แก่พนักงานอย่างเพียงพอเกี่ยวกับภัยคุกคามด้าน AI ผมเชื่อเลยว่า เรากำลังเปิดให้องค์กรพร้อมรับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น และอาจนำไปสู่การเปิดเผยความลับขององค์กร ความล้มเหลวในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อมูลที่สร้างโดย AI ที่ผิดพลาด

เพราะสุดท้ายแล้วผู้ใช้งานนี่แหละที่มักจะเป็นภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่ใหญ่ที่สุดครับ

สามารถติดตามบทความจาก CEO ผ่านทางบทความ Think Secure โดย คุณนักรบ เนียมนามธรรม (นักรบ มือปราบไวรัส) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้ทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หรือช่องทาง Online ที่ https://www.bangkokbiznews.com/category/tech/gadget 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ฉบับวันที่ 22 กรกฎาคม 2567)
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/tech/gadget/1136801 

Related Content
This website uses cookies to enhance your experience and providing the best service from us. Please confirm the acceptance. You can learn more about our use of cookies from our Policy. Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare