Share

ไทย ไม่รอด ถูกมิจฉาชีพใช้ 'แอป' หลอกเหยื่อเพิ่มขึ้น

Last updated: 15 Aug 2024
204 Views
ไทย ไม่รอด ถูกมิจฉาชีพใช้ 'แอป' หลอกเหยื่อเพิ่มขึ้น

ไทย ไม่รอด ถูกมิจฉาชีพใช้ 'แอป' หลอกเหยื่อเพิ่มขึ้น

คนไทยถูกหลอกให้ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์เฉลี่ย 500 ครั้งต่อวัน

ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการคุกคามของเหล่าบรรดามิจฉาชีพและแก๊งแฮกเกอร์ที่ต่างพยายามหาวิธีและรูปแบบการโจมตีที่แปลกใหม่เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ

ขณะเดียวกัน ยังคงเป็นเทคนิคที่ซับซ้อนและใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำซึ่งสวนทางกับผลตอบแทนที่จะได้รับจำนวนมากหากพวกเขาปฏิบัติการสำเร็จ และแน่นอนว่าการหลอกลวงในหลากหลายรูปแบบนี้ คนที่รู้ไม่เท่าทันอาจตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย

อย่างเทรนการหลอกลวงด้วยการใช้เทคนิค APP (Authorized Push Payment) เป็นการหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงินให้โดยที่เหยื่อคิดว่าได้โอนจ่ายเงินให้กับองค์กรที่แท้จริง มีกรณีการหลอกลวงเกิดขึ้นทั่วโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไทยและสหราชอาณาจักร ซึ่งสถาบันทางการเงินต่างๆ พบการใช้กลยุทธ์ดิจิทัลเชิงนวัตกรรมในการฉ้อโกงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI ทำให้เหยื่อแยกได้ยากขึ้น

ตัวอย่างเช่น รูปภาพที่สร้างโดย AI และเทคโนโลยีวิดีโอปลอม (Deep Fake) กำลังถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงให้ลงทุนแบบ รวยเร็ว เพื่อจูงใจเหยื่อให้ตัดสินใจลงทุนเป็นเงินก้อน

จากรายงานการฉ้อโกงประจำปี 2567 ของสหราชอาณาจักรเปิดเผยว่า มีการฉ้อโกง APP เพิ่มขึ้นถึง 12% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดย 3 ใน 4 (76%) ของเคสที่เกิดขึ้นมาจากทางออนไลน์และ 16% มาจากโทรหลอกลวงเหยื่อโดยการปลอมตัวเป็นหน่วยงานที่เชื่อถือ

สำหรับสาเหตุหลักๆ คือการหลอกลวงการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงโดยจำนวนเคสเหล่านี้เพิ่มขึ้น 34% หรือมากกว่า 156,000 ราย ซึ่งสร้างความเสียหายถึง 28% หรือ 86 ล้านปอนด์

นอกจากนี้ยังมีการฉ้อโกงแบบ romance fraud ที่ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งในแง่ของปริมาณและมูลค่าโดยมีการสูญเสียเพิ่มขึ้น 17% คิดเป็น 37 ล้านปอนด์ และจำนวนคดีเพิ่มขึ้น 14% ส่วนกรณีฉ้อโกงการเพิ่มขึ้น 1% คิดเป็น 10,226 คดี ในกรณีที่ผู้ฉ้อโกงไม่สามารถหลอกเหยื่อผ่านการฉ้อโกง APP ได้ ก็มักจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลบัตรที่ถูกขโมยไปเพื่อจัดการกับบัญชีหรือสมัครวงเงินเครดิตใหม่ จากรายงานพบว่า มีการโจรกรรมรหัสบัตรเพิ่มขึ้น 53% คิดเป็น 79 ล้านปอนด์

หน่วยงานกำกับดูแลระบบการชำระเงินของสหราชอาณาจักรมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านบริการการชำระเงินซึ่งจะบังคับใช้ในเดือนตุลาคมนี้ โดยธนาคารจะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ให้เหยื่อที่ถูกฉ้อโกงผ่าน APP หากการชำระเงินนั้นทำผ่าน Faster Payments เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เหยื่อรายงานเหตุการณ์การฉ้อโกงที่เกิดขึ้น เพราะตามรายงานของสำนักงานอาชญากรรมแห่งชาติพบว่า 86% ของการฉ้อโกง เกิดขึ้นโดยไม่มีเอกสารใดๆ

สำหรับประเทศไทยติดอันดับ 3 ของเอเชีย และอันดับ 6 ของโลกที่ถูกหลอกลวงทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ สูญเงินรวมไปกว่า 50,000 ล้านบาท

จากรายงานยังแสดงให้เห็นว่า คนไทยถูกหลอกให้ทำธุรกรรมทางเงินการผ่านช่องทางออนไลน์เฉลี่ย 500 ครั้งต่อวัน และยังถูกมิจฉาชีพ โทรและส่งข้อความหลอกลวงมากที่สุด ติดอันดับ 1 ของเอเชีย และการหลอกลงทุนเป็นวิธีที่ทำให้คนไทยสูญเงินมากที่สุดเป็นจำนวน 17,100 ล้านบาทโดยประมาณ

ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่า เม็ดเงินที่เหยื่อต้องสูญเสียไปโดยรวมนั้นนั้นมีมูลค่าสูงมากและหากยังไม่มีวิธีการจัดการที่ดี แน่นอนว่าแนวโน้มการถูกหลอกลวงจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนรวมถึงภาครัฐต้องตระหนักถึงความสำคัญและหามาตรการเพื่อป้องกันภัยร้ายนี้ให้ได้มากที่สุดเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมาครับ
 
สามารถติดตามบทความจาก CEO ผ่านทางบทความ Think Secure โดย คุณนักรบ เนียมนามธรรม (นักรบ มือปราบไวรัส) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้ทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หรือช่องทาง Online ที่ https://www.bangkokbiznews.com/category/tech/gadget 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน 2567)
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/tech/gadget/1132888

Related Content
This website uses cookies to enhance your experience and providing the best service from us. Please confirm the acceptance. You can learn more about our use of cookies from our Policy. Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare